เครื่องแต่งกายเกาหลี ตอน "รองเท้ายุคเก่า"
เครื่องแต่งกายเกาหลี
ตอน "รองเท้ายุคเก่า"
(ทั้งในสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี)
ที่ผ่านมาเราได้พูดถึงชุดฮันบกของท่านสุภาพบุรุษไปพอสมควรเลยทีเดียว ตอนนี้ที่ยังค้างกับผู้อ่านไว้ก็คือ ชุดฮันบกของสตรีชาวเกาหลี ที่ยังไม่เคยลงรายละเอียดเลยเพราะต้องบอกเลยว่ามีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมากๆ ทั้งรูปแบบ ช่วงเวลาในแต่ละรัชสมัย ชนชั้นที่แตกต่างกัน และเครื่องแบบในแบบต่างๆ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงต่างๆบางอย่างถูกผสมปนเปไปกับเครื่องแต่งกายในละครจนแทบแยกกันไปออกเลยว่า แท้จริงแล้วเป็นยังไงกันแน่ เลยอาจต้องใช้เวลากันอีกสักพักนะคะ หวังว่าผู้อ่านจะให้อภัยกัน TT TT
สำหรับวันนี้ขอแทรกด้วย ตอน "รองเท้าสารพัดแบบ" กันก่อนนะคะ แค่เรื่องรองเท้าอย่างเดียวแอดมินก็แทบอยากจะร้องไห้ ตอนหยิบมาทำเรื่องนี้คิดว่าไม่มีอะไรมากก็แค่รองเท้าเรื่องพื้นๆอยู่แล้ว... แต่ไม่จริงเลยค่ะรองเท้าในแต่ละยุค ในแต่ละชนชั้นนั้นมีทั้งรูปแบบและวัสดุที่นำมาทำรองเท้านั้นแตกต่างกันมีมากพอสมควรเลยค่ะ โดยเราจะนำเสนอ "รองเท้าของชาวเกาหลี" ที่สวมใส่กันตั้งแต่สมัยเกาหลีโบราณจนมาถึงในยุคปัจจุบันกันเลยนะคะ ไปรู้จักรองเท้าในแบบต่างๆกันได้เลยค่ะ...
รองเท้าสำหรับผู้ชาย
1.1 ฮึกพีฮวา (Heukpihwa-흑피화) เป็นรองเท้าบูทที่ทำจากหนังสีดำ มักสวมใส่ในงานราชพิธีต่างๆ ของทางราชสำนักร่วมกับเครื่องแบบราชพิธี
1.2 ม๊คฮวา (MokHwa-목화) เป็นรองเท้าบูททรงสูงของผู้ชายเกาหลีในสมัยโชซอนอีกประเภทหนึ่ง ผู้ที่สวมใส่มักเป็นขุนนางฝ่ายพลเรือนและทหารที่มีระดับสูงกว่าขั้น 4 ขึ้นไป (ระดับสูงสุดคือขั้นที่1 *เลขระดับขั้นยิ่งน้อยยิ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่า) นอกจากจะสวมใส่กันในหมู่ของขุนนางระดับสูงแล้ว รองเท้าบูทอย่างม๊คฮวายังถูกสวมใส่โดยกษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์ระดับสูงของโชซอนอีกด้วย โดยจะสวมใส่ร่วมกับเครื่องแบบขุนนาง หรือชุดว่าราชการขององค์กษัตริย์
1.3 ฮึกพีฮเย (Heukpihye-흑피혜) หรือ ฮึกฮเย (heukhye-흑혜) เป็นรองเท้าหุ้มส้นสีดำ ที่สวมใส่โดยข้าราชบริพารร่วมกับชุดเครื่องแบบขุนนาง และสวมใส่ร่วมกับชุดฮันบกทั่วไปของคนในชนชั้นระดับขุนนาง
1.4 แทซาฮเย (Taesahye-태사혜) เป็นรองเท้าผู้ชายที่มักสวมใส่กันในช่วงฤดูแล้ง วัสดุที่นำมาใช้ตัดเย็บมีตั้งแต่ผ้า หรือไม่ก็หนัง ขณะที่บริเวณจมูกรองเท้าและส้นรองเท้าจะมีการแกะสลักทำลวดลายให้ดูสวยงาม เป็นรองเท้าที่สวมใส่กันในหมู่ผู้สูงอายุ และเด็กที่อยู่ในตระกูลชั้นสูง รวมไปถึงกษัตริย์ที่มักจะสวมใส่ขณะออกประพาสต่างแดนอย่างไม่เป็นทางการด้วย
1.5 บัลมัคชิน (Balmaksin-발막신) เป็นรองเท้าอีกหนึ่งแบบซึ่งในอดีตที่ผ่านมามักสวมใส่กันในหมู่ผู้สูงอายุที่มีฐานะร่ำรวย ตัวปลายจมูกรองเท้ามีการเย็บให้เชิดขึ้นเล็กน้อย ดังภาพ
1.6 น๊คพีฮเย (Nokpihye-녹피혜) รองเท้าหนังกวาง
รองเท้าสำหรับผู้หญิง
2.1 ดังฮเย (Danghye-당혜) รองเท้าของผู้หญิงชาวเกาหลีในสมัยก่อน ด้านนอกหุ้มบุด้วยผ้าไหม มีการแกะสลักประดับลวดลายบริเวณจมูกและส้นของรองเท้าคล้ายกับ "แทซาฮเย" ของผู้ชาย เป็นรองเท้าหนังที่สวมใส่ในหมู่สตรีชั้นสูงในช่วงสมัยโชซอนมีสีสันให้เลือกสวมใส่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีแดง
2.2 อุนฮเย (Unhye-운혜) เป็นรองเท้าหนังที่สวมใส่กันในสมัยโชซอนของสตรีชนชั้นสูงที่แต่งงานแล้ว ด้านหน้าจะตกแต่งลวดลายคล้ายจะงอยปาก และที่ด้านหลังส้นรองเท้าจะทำเป็นลวดลายก้อนเมฆ
2.3 ก๊ดชิน (Kkotshin-꽃신) เป็นรองเท้าที่มีลวดลายสวยงามของดอกไม้ที่ปักลงไป เป็นรองเท้าหนังที่สวมใส่กันตั้งแต่ในสมัยโชซอน จนถึงปัจจุบันร่วมกับชุดฮันบก ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการเพิ่มส้นให้สูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้กับผู้สวมใส่ให้ดูดีมีสง่า
รองเท้าที่สวมใส่ในผู้ชายและผู้หญิงที่มีชื่อเรียกเหมือนกัน
3.1 จิพชิน (Jipsin-짚신) คือ รองเท้าแตะแบบดั้งเดิมของเกาหลีทำมาจากเส้นฟางที่มาสานกัน ชาวเกาหลีสวมใส่รองเท้าฟางสานนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยโชซอน จิพชิน นั้นส่วนใหญ่สวมใส่กันในคนชนชั้นไพร่ เกษตรกร และนักวิชาการบางกลุ่มที่ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ จิพชินที่พบเห็นกันอยู่บ้างตามแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานที่สำคัญของเกาหลี หรือแม้แต่ตามแหล่งร้านค้าของฝากอยู่ในทุกวันนี้ยังคงเป็นแบบดั้งเดิมที่สืบทอดมากันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในสมัยโชซอน
3.2 มยอค-ชิน (Myeoksin-멱신) หรือ ดุงกูนีชิน (Dunggunisin-둥구니신) รองเท้าบูทฟางสาน มักสวมใส่ในฤดูหนาวและในเขตพื้นที่ที่มีหิมะปกคลุม ซึ่งจะนิยมสวมใส่ร่วมกับ "ซอลพี (Seolpi-설피)"
3.3 ซอลพี (Seolpi-설피) เป็นรองเท้าที่สวมใส่ร่วมกับ "จิพชิน (Jipsin-짚신)" หรือ "มยอค-ชิน (Myeoksin-멱신)" มักใช้เป็นพื้นรองเท้าอีกชั้นหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยหิมะ อาจเรียกได้ว่าเป็น "รองเท้าหิมะ" ของคนรุ่นก่อนก็ว่าได้ ยังคงพบเห็นรองเท้าชนิดนี้ได้ตามเขตพื้นที่ชนบทที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ เป็นภูมิปัญญาของคนในสมัยก่อนที่ถือเป็นต้นแบบของ "สโนว์ ชูส์" (Snow Shoes) ในปัจจุบัน
3.4 นามัคชิน (Namaksin-나막신) เป็นรองเท้าแบบหุ้มส้นดั้งเดิมของชาวเกาหลีอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งได้จากการเจาะแกะสลัก เหลาและเกาท่อนไม้ทั้งท่อน โดยรองเท้าในแต่ละข้างนั้นไม่มีชิ้นไหนนำมาเชื่อมต่อเพิ่มเลย ทุกส่วนล้วนแล้วเกิดมาจากท่อนไม้จากท่อนเดียวเท่านั้น รองเท้ารูปแบบนี้ได้รับแบบแผนมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ย้อนกลับไปในช่วงยุคกลางชาวดัตช์สวมใส่รองเท้าไม้ลักษณะที่คล้ายคลึง "นามัคชิน" กันทั้งสิ้น
"แล้วอิทธิพลของรองเท้าไม้นี้ถูกส่งต่อมายังประเทศเกาหลีนี้ได้อย่างไรกันนะ?"
ในปี ค.ศ. 1651 เรือพ่อค้าดัตช์ที่เข้ามาค้าขายในประเทศเกาหลีนั้นมีเหตุที่ทำให้เรือของพวกเขาเกิดอัปปางขณะที่กำลังจะออกจากฝั่งที่ประเทศเกาหลีเพื่อกลับไปยังประเทศของตน ลูกเรือชาวดัตช์ที่ไม่สามารถกลับประเทศตนเองได้นั้น จึงมีการทำรองเท้าไม้ในแบบของชาวดัชต์ขายให้กับชาวเกาหลีเพื่อเลี้ยงชีพ ขณะที่รองเท้าไม้นี้ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วในประเทศเกาหลี แม้จะมีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของดีไซน์แต่นี่ก็ถือเป็นต้นกำเนิดของรองเท้า นามัคชิน ของชาวเกาหลี จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
นามัคชิน ถูกสวมใส่กันมากในช่วงศตวรรษที่ 20 รองเท้าไม้นี้ได้รับการสวมใส่ในทุกเพศทุกวัย และในทุกชนชั้น มักจะนิยมสวมใส่กันในฤดูฝนกันเป็นส่วนใหญ่
ในปี ค.ศ. 1651 เรือพ่อค้าดัตช์ที่เข้ามาค้าขายในประเทศเกาหลีนั้นมีเหตุที่ทำให้เรือของพวกเขาเกิดอัปปางขณะที่กำลังจะออกจากฝั่งที่ประเทศเกาหลีเพื่อกลับไปยังประเทศของตน ลูกเรือชาวดัตช์ที่ไม่สามารถกลับประเทศตนเองได้นั้น จึงมีการทำรองเท้าไม้ในแบบของชาวดัชต์ขายให้กับชาวเกาหลีเพื่อเลี้ยงชีพ ขณะที่รองเท้าไม้นี้ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วในประเทศเกาหลี แม้จะมีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของดีไซน์แต่นี่ก็ถือเป็นต้นกำเนิดของรองเท้า นามัคชิน ของชาวเกาหลี จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
นามัคชิน ถูกสวมใส่กันมากในช่วงศตวรรษที่ 20 รองเท้าไม้นี้ได้รับการสวมใส่ในทุกเพศทุกวัย และในทุกชนชั้น มักจะนิยมสวมใส่กันในฤดูฝนกันเป็นส่วนใหญ่
3.5 โกมูชิน (Gomusin-고무신) คือ รองเท้ายางที่เป็นรองเท้าแบบดั้
โกมูชินของผู้ชาย / โกมูชินของผู้หญิง |
-------------------------
แปลและเรียบเรียง: KoreaTown@AsianCastle
ข้อมูลและรูปภาพอ้างอิง:
http://chosang.co.kr/?doc=cart/item.php&it_id=1207288052
https://www.facebook.com/koreatourism
http://museum.smu.ac.kr
http://blog.joins.com/media/index.asp?uid=fabiano
http://blog.daum.net/munhwajaecheong
http://blog.daum.net/csn6110/8729228
Post a Comment