ผลผลิตอันน่าอัศจรรย์จากทุ่ง "ดอกยูแช" บนเกาะเชจู

ผลผลิตอันน่าอัศจรรย์จากทุ่ง "ดอกยูแช" 

ทุ่งดอกไม้ที่ถือเอกลักษณ์อันโดดเด่นของเกาะเชจู


"ยูแช (유채)" หรือ "เรป หรือ เรปซีด (Rapeseed)" มีชื่อเรียกทางการเป็นภาษาอังกฤษว่า "คาโนล่า (Canola)"  หรือในภาษาไทยว่า "ผักกาดก้านขาว" และยังมีชื่อเรียกพื้นเมืองอื่นๆ ดังนี้ ผักกาดมูเซอ (เชียงใหม่) ผักกาดยาง (เชียงใหม่) และสะเบเด๊าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)  ชื่อที่นิยมเรียกและถือเป็นชื่อสากลก็คือ "คาโนล่า (Canola)"

ลักษณะของต้น "คาโนล่า (Canola)" 


 "คาโนล่า (Canola)" เป็นพืชในสกุล Brassica ซึ่งอยู่ในตระกูล Crucifers family มีดอกสีเหลืองประกอบด้วยกลีบดอก 4 กลีบ และมีเมล็ดที่ใช้สกัดเป็นน้ำมันพืชได้ ในประเทศเกาหลีพบมากบนเกาะเชจูโดยเฉพาะในเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลินั้น ต้นยูแชหรือคาโนล่านั้น จะออกดอกบานสะพรั่งทั่วทั้งทุ่งเป็นช่วงที่สวยที่สุดของปี

ต้น Canola  เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรมจากต้นไม้ในสกุล Brassica ที่ชื่อว่า Rapeseed โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดา ซึ่งเดิมทีในสมัยโบราณนั้นน้ำมันจาก Rapeseed ถูกนำมาเป็นใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการจุดตะเกียงไฟและการหุงต้ม ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นักผสมพันธุ์พืช ได้มีการริเริ่มโครงการที่จะดัดแปลงพันธุกรรมต้น Rapeseed  ให้เป็นพืชที่สามารถจะให้ผลผลิตเป็นน้ำมันที่ใช้เป็น "น้ำมันพืชปรุงอาหาร" ได้ โดยตั้งชื่อว่า Canola ที่ได้มาจาก Can (Canada) - O(oil) - L(low)- A(acid) นั่นเอง

ผลผลิตอันน่าอัศจรรย์จาก "คาโนล่า (Canola)"

1. เมล็ดของ "คาโนล่า (Canola)" สามารถสกัดออกมาเป็น "น้ำมันพืช" ได้ ซึ่งจัดเป็นต้นกำเนิดหรือแหล่งกำเนิดของน้ำมันพืชเป็นอันดับสามรองจากน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม  ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น ผสมในน้ำสลัด ขนมอบ ผัด และทอด เป็นต้น

1.1 น้ำมันคาโนลาถือเป็นน้ำมันที่ช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีมากกว่าน้ำมันพืชปรุงอาหารโดยทั่วไป มีส่วนผสมของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงอย่าง "กรดโอลิอิก (Oleic acid)" ซึ่งมีส่วนช่วยลดไขมันในเลือดชนิด LDL ที่เป็นคลอเรสเตอรอลที่ไม่ดีต่อร่างกายให้ลดลง
1.2 ในน้ำมันคาโนลา มีวิตามินอีสูง สามารถใช้ทดแทนในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มักจะมีระดับวิตามินอีที่ต่ำได้
1.3 มีส่วนประกอบของ Omega-3  ซึ่งมีส่วนช่วยลดไขมันไตรกรีเซอไรด์ และลดภาวะการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ที่เป็นต้นเหตุให้เส้นเลือดหัวใจอุดตัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งต่าง ๆ ได้
3. กากเมล็ด  "คาโนล่า (Canola)"  ที่เหลือหลังจากการสกัดเอาน้ำมันออกไปแล้ว ยังคงมีประโยชน์ซึ่งอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาติต่าง ๆ สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่
4. น้ำมันที่สกัดได้จาก "คาโนล่า (Canola)" ยังสามารถนำมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซลได้
5. ใบและก้านของ "คาโนล่า (Canola)" ยังสามารถนำมาประกอบอาหารเพื่อรับประทานได้อีกด้วย รวมถึง การทำกิมจิ "ยูแชกิมจิ (유채김치)" สามารถพบเห็นได้ตามร้านอาหารทั่วไปบนเกาะเชจู

6. ในทางเวชสำอางค์มีการนำเอาสารสกัดจากดอกคาโนล่า
5.1 โลชั่นที่ประกอบด้วยน้ำมัน หรือ สารสกัดจาก "คาโนล่า (Canola)"  ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวแห้งให้กลับมาเนียนนุ่ม สุขภาพดี
5.2 แชมพูที่ประกอบด้วยน้ำมัน หรือ สารสกัดจาก "คาโนล่า (Canola)" ช่วยในการดูแลเส้นผม ทำให้ผมนุ่ม และเงางาม บำรุงผมเสีย เพิ่มชั้นปกป้องเส้นผม
7. น้ำผึ่งจากเกสรดอก "คาโนล่า (Canola)" สามารถนำมาประกอบอาหารประเภทของหวาน เช่น ใช้เป็นน้ำเชื่อมราดน้ำแข็งใส และยังนำไปใช้ในเรื่องของเวชสำอางค์ด้วย


8. เป็นส่วนประกอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสีน้ำมัน

ว้าว!!...สรรพคุณเพียบขนาดนี้ สวยงามขนาดนี้คงต้องหามาปลูกสักไร่สองไร่ซะแล้ว เพราะในประเทศไทยผลิตผลจาก คาโนล่า (Canola) ยังคงมีราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันพืช

-------------------------------
แปลและเรียบเรียง: KoreaTown@AsianCastle
ภาพและแหล่งอ้างอิง :
https://story.kakao.com/ch/jejudotaxi 
http://food.chosun.com/
http://blog.daum.net/angtal11/

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.